วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

จุลินทรีย์พลายแก้ว,บีเอสพลายแก้ว,พลายแก้ว

จุลินทรีย์พลายแก้ว,บีเอสพลายแก้ว,พลายแก้ว
จุลินทรีย์พลายแก้ว,บีเอสพลายแก้ว,พลายแก้ว
Add to Cart View detail

จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย,เพลี้ย,เพลี้ยศัตรูพืช,ทริปโตพลัส

จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย,เพลี้ย,เพลี้ยศัตรูพืช,ทริปโตพลัส
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย,เพลี้ย,เพลี้ยศัตรูพืช,ทริปโตพลัส
Add to Cart View detail

การกำจัดปลวก,ปัญหาปลวก,จุลินทรีย์กำจัดปลวก

การกำจัดปลวก,ปัญหาปลวก,จุลินทรีย์กำจัดปลวก
การกำจัดปลวก,ปัญหาปลวก,จุลินทรีย์กำจัดปลวก
Add to Cart View detail

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การกำจัดแมลง,โรคศรัตรู,เห็ด

การกำจัดแมลง,โรคศรัตรู,เห็ด

การกำจัดแมลง,โรคศัตรูเห็ดที่เพาะระบบถุงพลาสติก
เห็ด,ปัญหา,การเพาะเห็ด
จังหวัดในภาคตะวันออก คือชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี และนครนายก มีการทำฟาร์มเห็ดเช่นเดียวกันกับจังหวัดอื่น ๆ ปัญหาการตลาดคล้ายกัน คือ เห็ดที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจะมีบางช่วงที่ผลิตดอกเห็ดมากจนล้นตลาด แต่ถ้าอากาศไม่หนาวเย็นพอ เช่น อากาศร้อนนาน ๆ เห็ดนางฟ้าภูฎานดำแทบจะไม่เกิดดอกเห็ดเลย ระยะนั้นเห็ดขอนและเห็ดกระด้างจะออกดอกดี ส่วนเห็ดนางรมจะออกดอกได้ปานกลาง ทั้งช่วงร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป ส่วนเห็ดยานากิ หรือเห็ดโคนญี่ปุ่นจะออกดอกคราวละไม่มาก ทำให้ต้องใช้โรงเรือนรอบละนานๆ
               ปัญหาที่พบทั่วไปของผู้ผลิตดอกขายคือ เชื้อราเขียว ราต่างๆ เข้ากินก้อนเชื้อ ถูกหนอนของแมลงรบกวน และการเกิดไรหลายชนิด กินเส้นใยเห็ด การเกิดบักเตรีสีสนิมทำลายโคนต้นเห็ด การเกิดปัญหาเป็นเพราะสุขอนามัยของฟาร์มเห็ดย่อหย่อน การแปรสภาพถุงเก่าและเศษเห็ดช้าเกินไป ส่วนการที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก็จะมีพิษตกค้างในเห็ดเป็นอันตรายได้ ปัจจุบันในหลายภูมิภาคได้มีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ แก้ปัญหาอย่างได้ผลและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เช่น ใช้ไบโอบีทีชีวภาพ เพื่อกำจัดหนอนของแมลง    ใช้เชื้อพลายแก้วเพื่อกำจัดเชื้อรา    และใช้บาซิลลัส ไมโตฝาจหรือไมโตฟากัส กำจัดไร เป็นต้น
 1. เชื้อราปนเปื้อนที่พบได้แก่ ราเขียว Trichoderma sp. ซึ่งมีอัตราการเจริญเติบรวดเร็ว ทำให้เชื้อเห็ดชะงักการเจริญเติบโต ราดำ Aspergillus niger เกิดในถุงที่มีอาหารเสริมสูง ราสีส้ม Neurospora  sp. และราเมือกสีเหลือง    Physarum polycepharum พบตามถุงเห็ดที่วัสดุเพาะเน่าและภายในโรงเห็ดมีความชื้นสูง โรงเพาะเห็ดไม่มีอากาศถ่ายเทพอ ถ้ามีราปนเปื้อนมากควรงดใส่น้ำตาลและแป้ง   หรือไม่ควรใส่ในสูตรอาหารเห็ดเลย  แก้ปัญหาโดยใช้เชื้อพลายแก้วที่หมักเป็นเชื้อสดแล้ว ฉีดพ่นเข้าไปในบริเวณที่เกิดเชื้อราโรคเห็ด
               2. หนอนแมลงหวี่เซียริดหรือแมลงหวี่เห็ดปีกดำ พวกนี้มีลำตัวสีขาวใสหรือสีเขียวอ่อน หัวมีสีดำยาวประมาณ 5 – 7 ซ.ม. เคลื่อนไหวเร็วและกินจุมาก ตัวอ่อนจะกัดกินเส้นใยเห็ด      แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อไบโอบีที  ที่หมักเป็นเชื้อสดแล้วให้ทั่วบริเวณที่หนอนอยู่อาศัย
3. ไร ตัวไรจะดูดกินน้ำเลี้ยงระยะก้อนเชื้อและดอกเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าการระบาดของไรมีมากเมื่อความ ชื้นต่ำ จึงควรให้ความชื้นอย่างสม่ำเสมอ การไม่ปล่อยให้เกิดการหมักหมมของก้อนเชื้อบริเวณโรงเพาะ ก็เป็นการลดจำนวนไรได้ทางหนึ่ง การปราบไรควรเน้นเรื่องความสะอาดและการป้องกันมากกว่าการใช้สารเคมีเพราะเมื่อไรกระจายอยู่ในถุงเห็ดแล้วสารเคมีมักใช้ไม่ได้ผลจริง  อีกทั้ง เป็นอันตรายมาถึงคนกินเห็ดด้วย   แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นน้ำหมักเชื้อไมโตฝาจในบริเวณที่เกิดปัญหาไร
4. แมลงหวี่ เกิดกับดอกเห็ดที่อายุมากแมลงหวี่จะเข้ามาตอมและวางไข่เป็นหนอนแล้วแพร่ พันธุ์ ควรนำก้อนเชื้อชนิดนี้ออกจากโรงเพาะ  แก้ปัญหาโดยฉีดพ่นเชื้อจุลินทรีย์ ทริปโตพลัสให้ถูกตัวแมลงหวี่หรือบริเวณที่แมลงหวี่มักเกาะอาศัย
5.โรคจุดเหลือง พบในเห็ดที่มีอายุมากที่ตกค้างในการเก็บหรือเป็นเพราะน้ำที่ใช้รดสกปรก หรือความชื้นมาก โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด
ที่มา:คุณอำพล สุขเกตุ 

การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com 
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1


  
Add to Cart View detail

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สูตรอาหารขี้เลื่อยเห็ดถุง,เห็ด

สูตรอาหารขี้เลื่อยเห็ดถุง,เห็ด

แต่เดิมการทำเห็ดถุงโดยใช้ขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบ จะมีการเติมอาหารเสริมสำคัญคือ รำละเอียด 6% ต่อมามีการเติมหินปูนบด,ยิปซัม, ดีเกลือ, บ้างเติมกากถั่วป่น, เศษพืชป่นที่มีมากในพื้นที่ น้ำตาลทรายแดง, กากน้ำตาล น้ำหมักพืช ฮอร์โมนพืช ฯลฯ ใครว่าใช้อะไรดีก็หามาเติม จนเกิดปัญหาต้นทุนสูง มีกลิ่นดึงดูดแมลงหวี่เห็ด และมด แม้แต่ไร เมื่อสัตว์เหล่านี้มาที่ถุงเห็ดก็ทำให้ถุงเห็ดติดเชื้อปนได้ง่าย     มีข้อมูลในวารสารเห็ดไทยเรื่องการใช้ขี้เลื่อยเก่ามาเป็นส่วนผสมกับขี้ เลื่อยใหม่แล้วได้ผลดี ผู้วิจัยอ้างว่าในขี้เลื่อยเก่ามีบักเตรี บาซิลลัส ซับติลิส    เชื้อนี้สปอร์ไม่ตายเมื่อพาสเจอร์ไรซ์ แต่กลับช่วยกระตุ้นการเจริญของเส้นใยเห็ด ในประเทศไทยได้นำเชื้อบักเตรี บาซิลลัส ซับติลิส สายพันธุ์พลายแก้วมาหมักขยายจำนวนแล้วผสมในขี้เลื่อยก่อนทำถุง ซึ่งก็แสดงผลที่ดีมากและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ฟาร์มเห็ดดอนปรูได้ปรับสูตรลงเหลือเพียงขี้เลื่อย 100 กก. แร่ม้อนท์ 3 กก. (หรือภูไมท์ซัลเฟต 5 กก.) รำละเอียด 6 กก. อื่นๆ ตัดออกหมด แต่เติมน้ำหมักพลายแก้วเพื่อป้องกันราและน้ำหมักไมโตฝาจ เพื่อป้องกันกำจัดไร ถ้าจะผลิตถุงเห็ดส่งลูกค้าที่มีปัญหาแมลงหวี่มากก็จะเติมน้ำหมักบีทีด้วย วิธีนี้ประหยัดค่าใช้จ่าย และลดกลิ่นดึงดูดศัตรูเห็ดด้วย ในกรณีของการใช้น้ำหมักและยิปซัมไปได้ทั้งหมด แต่แร่ม้อนท์ให้แร่ธาตุจำเป็นต่างๆ แก่เห็ดไดดีทั้งธาตุรอง และธาตุเสริม เมื่อนำถุงเชื้อมาผลิตดอกเห็ดก็ได้ดอกเห็ดใหญ่ สมบูรณ์ น้ำหนักดี  
ที่มาซคุณอำพล สุขเกตุ

การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com 
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1


Add to Cart View detail

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การรักษาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ,Oyster Mushroom

การรักษาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ,Oyster Mushroom

การรักษาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ
       เ็ห็ดนางฟ้าภูฏานดำ,Oyster Mushroom นับว่าเป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมนำมาประกอบอาหาร ประกอบกับมีการเพาะเห็ดชนิดนี้ได้ง่าย ราคาไม่ค่อยแพงมากนัก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเพาะเห็ดชนิดนี้ในชิงการค้า ก็ยังพบปัญหาต่างๆ เช่น แมลงรบกวน เชื้อรา ดอกไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้ประสบกับภาวะขาดทุน

      ขอแนะนำวิธี การดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ ให้ออกดอกสม่ำเสมอ เก็บดอกได้นาน     คุ้มค่า และลดปัญหาแมลงรบกวน ก่อนอื่นผู้ที่คิดริเริ่มเพาะเห็ด ควรสำรวจแหล่งทำก้อนเชื้อที่เชื่อถือได้ เช่น สอบถามจากผู้ที่เพาะเห็ดอยู่แล้ว หรืออาจจะใช้วิธีการสุ่มก้อนหลายๆแห่ง มาเิปิดดอกเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพ ว่าก้อนเชื้อแต่ละแหล่งมีปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงหรือไม่  จะได้ไม่ต้องปวดหัวตามแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา และลดความเสี่ยงต่อการขาดทุน (เลือกก้อนเห็ดดีมีชัยไปกว่าครึ่ง) กรณีมือใหม่ ถ้ามีเวลาก็หาโอกาสไปเยี่ยมฟาร์มอื่นๆด้วยก็จะดี เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การเปิดดอก ก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเปิดดอก ไม่ควรเิดดอกทันทีเมื่อก้อนเชื้อมาถึงโรงเปิดดอก ถึงแม้ว่าเชื้อเห็ดจะเดินเต็มถุงแล้วก็ตาม ควรมีการมีการพักก้อนประมาณ 4-5 วัน เพื่อให้เชื้อเห็ดปรับสภาพให้เข้ากับสภาพอากาศในโรงเรือนก่อน ทำให้เชื้อเห็ดแข็งแรง ส่งผลในระยะยาวด้วย เมื่อครบระยะเวลาพักก้อนเชื้อเห็ดแล้ว ก็ทำการเิปิดดอก การเปิดดอกควรดึงเศษฝ้ายที่ติดกับเชื้อเห็ดออกให้หมด เพราะจะเป็นจำนำพาเชื้อราเ้ข้าสู่ก้อนเห็ดได้ รดนำ้ให้ชุ่มพอประมาณ รวมถึงบริเวณพื้นโรงเรือนด้วย ปิดโรงเรือนประมาณ 4-7 วัน จากนั้นจะพบตุ่มดอกเล็กๆเกิดขึ้น ประมาณ 2-4 วัน ก็สามารถเก็บเี่กี่ยวได้  การเก็บดอกเห็ดนั้นควรทำความสะอาดบริเวณหน้าก้อน ระวังอย่าให้มีเศษขาเห็ดติดอยู่หน้าก้อนเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดเชื้อรา และเป็นที่วางไข่ของแมลง รดน้ำให้ชุ่มพอประมาณ วันละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอากาศในแต่ละวันด้วย 
   
เป็นการแนะนำเบื้องต้น จากประสบการณ์ของผู้เขียน การเพาะเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ และเห็ดชนิดอื่นๆ ย่อมมีวิธีการที่แตกต่างกันไป จึงจะมาเพิ่มเติมข้อมูลในคร้งต่อไป การรักษาก้อนเห็ดด้วยแร่ธาตุ การทำชั้นวางสำหรับผู้มีพื้นที่น้อย การป้องกันโรคแมลง เป็นต้น   

การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตร
จุลินทรีย์พลายแก้ว
แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1

Add to Cart View detail

แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด,Mineral plus

แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด,Mineral plus
แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด,Mineral plus
      เพื่อเป็นอาหารเสริมของดอกเห็ด ให้มีคุณภาพดอกที่สมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักดี มีรสชาดอร่อย
      แร่ธาตุเสริมเห็ดสาารถใช้ได้กับเห็ดทุกชนิด เนื่องจากมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเห็ด ลดปริมาณการใช้อาหารในก้อนเชื้อเห็ด ทำให้ยืดอายุการเก็บดอกเห็ดได้นานขึ้น และปลอดภัย
      จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้ใช้แร่ธาตุเสริมดอกเห็ดเป็นประจำโดยการ ใช้แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด 4-5 ช้อนแกง ละลายน้ำ 10 ลิตร/1บัวรดน้ำ ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน แล้วจึงน้ำที่ตกตะกอนแล้ว ไปฉีกพ่นบางๆ ให้ทั่วทุกก้อน เป็นประจำเช้า - เย็น ทำให้ดอกโตสม่ำเสมอ น้ำหนักดี 
หากมีการใช้ จุลินทรีย์พลายแก้ว จุลินทรีย์กำจัดหนอน (บี ที) และจุลินทรีย์กำจัดไร ให้นำน้ำที่ละลายแร่ธาตุเสริมเห็ดที่ตกตะกอนแล้ว มาผสมกับจุลินทรีย์ที่หมักไว้แล้วตามอัตราส่วน อ่านวิธีการหมักจุลินทรีย์ พลายแก้ว

การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตร
จุลินทรีย์พลายแก้ว
แร่ธาตุเสริมดอกเห็ด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คุณสุพจน์ 082-711-9399 E- mail: Sup.hot@hotmail.com
ชื่อบัญชี สุพจน์ แวงภูลา
ธนาคารกรุงไทย สาขาศรีราชาบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 208-1-95042-1
Add to Cart View detail
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. ชุมชนคนทำเห็ด Mushroom Comunity - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger